ยินดีต้อนรับทุกท่านค่ะ

สวัสดีค่ะ ขอแสดงความยินดี กันเพื่อนๆ น้องๆ หลานๆทุกคน ที่ส่งงานผ่านกันไปด้วยดีค่ะ ส่วนผู้ที่ยังส่งไม่ผ่าน ก็สู้ๆกันต่อไป...สบายดีกันทุกคนนะคะ

4/25/2552

จิตรกรรมสีน้ำมัน


จิตรกรรมสีน้ำมัน Oil painting
.
.

จิตรกรรมสีน้ำมัน หรือ ภาพเขียนสีน้ำมัน (ภาษาอังกฤษ: Oil painting)
คือการเขียนภาพโดยใช้สีฝุ่นที่ผสมกับน้ำมันแห้ง (drying oil)
โดยเฉพาะในตอนต้นของยุโรปสมัยใหม่กับน้ำมันลินซีด (linseed oil)
ตามปกติแล้วก็จะต้มน้ำมันเช่นลินซีดกับยางสน
หรือยางสนหอม (frankincense)
ส่วนผสมนี้เรียกว่า “น้ำมันเคลือบ” (varnish)
ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ภาพเขียนมีความหนาและเป็นเงา
.
.
.
น้ำมันอื่นที่ใช้ก็มี น้ำมันเม็ดฝิ่นน้ำมันวอลนัท และน้ำมันดอกคำฝอย
น้ำมันแต่ละอย่างก็มีคุณภาพต่างๆ กัน
เช่นอาจจะทำให้สืเหลืองน้อยลง
หรือใช้เวลาแห้งไม่เท่ากัน
บางครั้งก็จะเห็นความแตกต่างจากเงาของภาพเขียน
แล้วแต่ชนิดของน้ำมัน
.
.
.
จิตรกรจะใช้น้ำมันหลายชนิดในภาพเขียนเดียวกัน
เพื่อให้ได้ลักษณะของภาพเขียนออกมาตามที่ต้องการ
การแสดงออกของสีก็จะต่างกันตามแต่วัสดุที่ใช้เขียน
จิตรกรรมสีน้ำมัน เป็นกรรมวิธีสร้างสรรค์ศิลปะ
ที่เรารับมาจากสังคมตะวันตก
เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด
โดยใช้วัสดุ อุปกรณ์ รูปแบบ เนื้อหา และเทคนิควิธีต่างๆ
เข้ามาพร้อมๆกัน
.
.
.
แม้เอกลักษณ์ในความเป็นชาติไทยจะยังคงมีอยู่
แต่เราคงจะปฏิเสธการแพร่เข้ามานั้นไม่ได้
เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นตามกระแสความนิยมของมนุษย์
แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ เมื่อเรารับรู้เพียงบางส่วน
หรือรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในลักษณะตัดยอดชำ
โดยมิได้ศึกษาอย่างถ่องแท้ในเรื่องของความเป็นมา
ความเชื่อมโยงหรือหลักการต่างๆ
รวมถึงปรากฏการณ์ต่างๆที่สะท้อนให้เห็นความกังวลข้างต้นนั้น
จึงส่งผลให้มีความพยายามที่จะพลักดันให้การปฎิบัติ
สัมพันธ์กับความรู้ ความคิด
มิใช่เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
.
.
.
และได้แต่หวังว่า ความรู้ ความคิด และหลักการต่างๆ
จะช่วยพัฒนาให้กรรมวิธีสร้างสรรค์ศิลปะ
ที่เรารับมาจากสังคมตะวันตกให้เป็นไปอย่างมีทิศทาง
และเราก็คงปฏิเสธความจริงไม่ได้ว่า
การนำศิลปะตะวันตกเข้ามา จำเป็นจะต้องศึกษาให้ชัดเจน
เพื่อความเป็นสากลหรือเพื่อการก้าวล้ำหน้าตะวันตกก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง
.
.

ความเป็นศิลปะตะวันตกและกรรมวิธีในการสร้างสรรค์งานศิลปะ
ได้หล่อหลอมมานับด้วยพันๆปี
แม้กรรมวิธีการเขียนภาพสีน้ำมัน
ก็มีวิวัฒนาการมาแล้วไม่น้อยกว่า 500 – 600 ปีมาแล้ว
แม้แต่ในเรื่องการสร้างสรรค์งานจิตรกรรม
ภาพเขียนของชาวโรมันจากซากปรักหักพัง
ที่ภูเขาไฟวิสเวียสถล่มทลายเมืองปอมเปอี เมืองเฮอร์คิวเลเนียม
และไถ่บาปด้วยการทะนุถนอมผลงานภาพเขียนเหล่านั้นไว้
.
.
.
ภาพเขียนของชาวโรมันได้บ่งบอกเส้นทางการเดินทาง
ของจิตรกรรมตะวันตกไว้พอสมควร
และนั่นก็เป็นปรากฎการณ์ที่นับได้ประมาณ 2000 ปีมาแล้ว
ในช่วงสมัยกลางของยุโรป ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 4-13
การสร้างสรรค์จิตรกรรมของชาวยุโรปชะงักงันลง
ภาพเขียนคนในช่วงเวลานั้นเป็นไปอย่างแข็งกระด้าง
ผลงานออกแบบขาดสัดส่วนที่งดงาม
มิได้มีลักษณะเลียนแบบธรรมชาติ
โดยมีศาสนาเป็นตัวครอบงำทั้งรูปแบบเนื้อหา
.
.
.
ถ้ามองย้อนไปสู่ประวัติศาสตร์ยุโรป
ในช่วงเวลานั้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 – 8
ผู้คนได้อพยพย้ายถิ่นฐานจากเมืองไปสู่ชนบท
เพื่อหลีกหนีอนารยชน แม้ราชวงศ์ก็มิได้ยกเว้น
ด้วยประวัติศาสตร์และความสับสนเหล่านี้
ก็คงพอเป็นที่คาดเดาได้ว่า สังคมในช่วงเวลานั้น
กำลังขาดแคลนช่างฝีมือหรือจิตรกรตามไปด้วย
.
.

ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11
รุ่งอรุณของการสร้างสรรค์ศิลปะเริ่มฉายแสงขึ้น
แต่ก็ยังคงเป็นไปในสาระของศาสนา
และสร้างศิลปะในลักษณะที่ยังมิได้แยกให้เห็นความเป็นศิลปิน
ของแต่ละบุคคล
ต่อมาผลงานจิตรกรรมจึงค่อยๆแสดงอิสรภาพและแสดงออก
ซึ่งความเป็นปัจเจกของศิลปินแต่ละคนมากขึ้น
.
ในคริสต์ศตวรรษถัดมา ประชาชนคืนชีวิตกลับสู่เมืองมากขึ้น
ศิลปะงานฝีมือ และสินค้า
ได้มีบทบาทและยกฐานะชนชั้นกลางให้มีความสำคัญมากขึ้น
ศิลปินเข้าไปมีบทบาทอยู่ในสำนักช่าง
และมิได้สร้างงานศิลปะแต่เพียงภายในโบสถ์
และภายใต้คำบงการของสถาปนิกเท่านั้น
แต่กลับสร้างสรรค์งานอยู่ในห้องทำงานของตน
ศิลปินผู้เป็นเจ้าของทั้งวัสดุอุปกรณ์และเวลาในการทำงานของตนเอง
เขาพร้อมที่จะจินตนาการและทำงานอย่างไรก็ได้ตามใจปรารถนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น