ยินดีต้อนรับทุกท่านค่ะ

สวัสดีค่ะ ขอแสดงความยินดี กันเพื่อนๆ น้องๆ หลานๆทุกคน ที่ส่งงานผ่านกันไปด้วยดีค่ะ ส่วนผู้ที่ยังส่งไม่ผ่าน ก็สู้ๆกันต่อไป...สบายดีกันทุกคนนะคะ

4/23/2552

แอ็บสแตรคเอ็กซ์เพรสชันนิสม์ : ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม

แอ็บสแตรคเอ็กซ์เพรสชันนิสม์
ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม
.
.
แอ็บสแตรคเอ็กซ์เพรสชันนิสม์:ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม (Abstract Expressionism)
เป็นศิลปะในช่วงระหว่าง: กลางคริสต์ทศวรรษ 1940-ทศวรรษ 1950
คำว่า แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์
มีที่มาจากการพยายามอธิบายงานจิตรกรรมนามธรรม
ของ วาสสิลี่ คานดินสกี้ (Wassily Kandinsky) ในระหว่างปี 1920
ต่อมาคำๆนี้ไปปรากฏในข้อเขียนสำหรับอธิบายงานจิตรกรรมร่วมสมัย
ที่เขียนโดย โรเบิร์ต โคเตส (Robert Coates)
ในนิตยสาร “นิวยอร์คเกอร์” (New Yorker) ฉบับวันที่ 30 มีนาคม 1946
.
.
นักวิจารณ์ผู้ทรงอิทธิพลที่สนับสนุนศิลปะแบบ แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์
คือ ฮาโรลด์ โรเซนเบิร์ก (Harold Rosenberg) และ คลีเมนท์ กรีนเบิร์ก (Clement Greenberg)
เคยให้ศัพท์อื่นๆ เอาไว้ เรียกงานในแนวเดียวกันนี้ว่า
แอ็คชัน เพนติ้ง (Action painting)
และ อเมริกัน สไตล์ เพนติ้ง (American-style painting)
แต่ในที่สุดคำว่า แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์
ก็เป็นคำที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในอเมริกา
.
.
ส่วนในยุโรปจะมีการใช้คำว่า อาร์ต อินฟอร์เมล (Art Informel)
แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ เป็นกระแสศิลปะแรกในอเมริกา
ที่เกิดจากเหล่าศิลปินชาวยุโรปที่อพยพมาสหรัฐอเมริกา
พวกเขาเหล่านี้หนีภัยเผด็จการของพวกนาซีจากเยอรมนี
แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ คือ...
ผลจากการสังเคราะห์ศิลปะหลากหลายรูปแบบ
ตั้งแต่งานแนว เอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ (Expressionism)
โดย วินเซนต์ แวนโก๊ะ (Vincent van Gogh)
งานนามธรรมโดย คานดินสกี้
งานที่เน้นสีสันในพื้นที่ใหญ่ๆ ของ อองรี มาติสส์ (Henri Matisse)
ไปจนถึงงานที่เป็นรูปทรงอิสระแบบธรรมชาติ “ออแกนิค” (organic)
และงานจากจิตไร้สำนึกของพวก เซอร์เรียลลิสม์ อย่าง โจน มิโร (Joan Miro)
มีเพียงงานแนวเรขาคณิตและแนวเหมือนจริงเท่านั้น
ที่ไม่ได้ถูกรวมเข้าไปในรูปแบบอันหลากหลาย
ของแอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์
.
.
สำหรับ แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ แล้ว
พวกเขามีส่วนร่วมกันในเรื่องของ “ทัศนคติ”
มากกว่าจะเหมือนในเรื่องของ “รูปแบบ”
ตัวอย่างเช่น ผลงานที่เกิดจากการหยอด การหยดสี
ของ แจ็คสัน พอลล็อค (Jackson Pollock)
มีอะไรที่คล้ายกับพื้นสีอันกว้างใหญ่
ของ มาร์ค รอธโก (Mark Rothko) น้อยมาก
แต่ที่แน่ๆ พวกศิลปินกลุ่มนี้จะคล้ายกันในเรื่อง
การแสดงออกทางอารมณ์และกายภาพ
วิธีคิด วิธีทำงานและแนวงานแบบนี้
ตรงกันข้ามกันอย่างมากกับแนวงาน โซเชียล เรียลลิสม์ (Social Realism)
ที่ทำกันแพร่หลายในทศวรรษ 1930
แนวงานแบบ แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์
คืออีกตัวอย่างอันสุดขั้วของแนวคิดแบบสมัยใหม่ (modernist)
ที่เน้นความเป็นต้นแบบต้นฉบับ
ความเป็นปัจเจกเฉพาะตัวของศิลปิน
การทำงาน (เขียนภาพ) โดยแทบจะไม่อ้างอิงถึงสรรพสิ่งใดๆในโลก
แต่จะมุ่งไปที่การแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกที่สดฉับพลัน
ผ่านสีสันและฝีแปรง...เท่านั้น
เสน่ห์ของงานศิลปะที่นำมาฝากกัน คงช่วยให้คุณๆ หลงรักงานศิลปะมากขึ้นแล้ว..หรือเปล่า?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น