วันที่ 1 พฤษภาคม หรือ "May Day" เป็นวันแรงงาน
แต่ก็มีบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและแคนาดา ถือวันอื่นเป็นวันแรงงาน
แต่โบราณในยุโรปถือว่า วันเมย์เดย์
เป็นวันเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูใหม่ในทางเกษตรกรรม
จึงมีพิธีเฉลิมฉลองรื่นเริงในพิธีการนำเอาต้นไม้มาตกแต่งประดับให้สวยงาม
และสมมติคนหรือตุ๊กตาให้เป็นเทพเจ้าแห่งเกษตรขึ้น
เพื่อทำการบวงสรวงบนบานขอให้ปลูกพืชได้ผลดี
ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข
ทางภาคเหนือของยุโรปมีการจัดงานรอบกองไฟในวันนี้ด้วย
ประเพณีนี้ยังสืบทอดปฏิบัติต่อมาในชนบทของเกาะอังกฤษจนกระทั่งทุกวันนี้
วัตถุประสงค์ของวันแรงงานที่นานาประเทศกำหนดขึ้น
ก็เพื่อเป็นวันเตือนใจให้ประชาชนตระหนักถึง
ผู้ใช้แรงงานที่ได้ทำประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ
ความสะดวกสะบายในการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกวันนี้
ผู้ใช้แรงงานมีส่วนสร้างขึ้นทั้งสิ้น
จึงได้ควรมีการระลึกถึงและตระหนักในความสำคัญของแรงงานพอสมควร
วันแรงงานถือเป็นเรื่องของแรงงานโดยเฉพาะ
การฉลองวันแรงงานทั่วๆ ไปจะไม่นิยมแสดงออกทางการเมือง
สำหรับในประเทศไทย เมื่อระหว่าง พ.ศ.2496-2499
มีการตื่นตัวในเรื่องการก่อตั้งองค์การลูกจ้าง ขณะนั้นกฏหมายแรงงานยังไม่มี
จึงตั้งขึ้นในนามของสมาคมกรรมกรไทย
และสมาคมเสรีแรงงานแห่งประเทศไทย
กรรมการและผู้แทนของสมาคมเหล่านี้
มีโอกาสประชุมกิจกรรมด้านแรงงานในต่างประเทศ
และได้ความรู้ว่าหลายประเทศถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคมเป็น "วันแรงงาน"
ต่อมาในวันที่ 20 เมษายน 2499
คณะกรรมการจัดงานที่ระลึกวันแรงงานได้จัดให้มีการประชุมขึ้น
ที่ประชุมมีความเห็นว่า...
ควรกำหนดควรกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม
เป็นวันที่ระลึกแรงงานในประเทศไทย
จึงได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีขอให้ทางราชการรับรอง
วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันที่ระลึกของแรงงาน
ดังนั้น ในวันที่ 30 เมษายน 2499 ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ให้ถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันกรรมกรแห่งชาติ
ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวันแรงงานแห่งชาติ ต่อมาใน พ.ศ.2500
ได้มีพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ.2499
บัญญัติให้ลูกจ้างมีสิทธิหยุดงานประจำปีในวันกรรมกรแห่งชาติ คือวันที่ 1 พฤษภาคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น